"วสันต์ แปงปวนจู" โปรแกรมเมอร์ผู้พิการทางสายตาที่ช่วยเปิดโลก “คนตาบอดทำอะไรก็ได้”

ณัฐปภัสร์ วิทยาปกรณ์
05 May 2022คนตาบอดทำอะไรก็ได้ ‘วสันต์ แปงปวนจู’ โปรแกรมเมอร์ผู้พิการทางสายตา และ ผู้ก่อตั้ง Friendly Dev
“เราอยากจะทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคมเล็กๆ พัฒนาทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่คนตาบอดกับคนปกติทำงานร่วมกันได้”
ผู้พิการทางสายตาที่ทำงานในแวดวงซอฟต์แวร์คงเป็นภาพไม่คุ้นตาของใครหลายคน เพราะสังคมก็ยังเข้าใจว่าผู้พิการไม่สามารถทำงานด้านเทคโนโลยีได้ แต่คุณ ‘วสันต์ แปงปวนจู’ ผู้พิการทางสายตาผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ Friendly Dev ก็พิสูจน์แล้วว่านั่นเป็นเพียงภาพจำของสังคม และผู้พิการก็เป็นได้มากกว่าที่หลายคนคิด
Friendly Dev พัฒนาเพื่อ ‘ทุกคน’
“งานหลักๆ ที่เราทำตอนนี้ก็เป็นการพัฒนาพวกเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานจากผู้ใช้ทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการครับ ให้ทุกคนสามารถมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้”
ทีม Friendly Dev เป็นทีมพัฒนาที่เพิ่งเกิดเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อผู้พิการ ไม่ใช่เฉพาะคนตาบอด แต่ยังรวมไปถึงผู้พิการด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มตัวหนังสือในสื่อวิดีโอ และภาษามือสำหรับคนหูหนวก หรือฟังก์ชันการอ่านหน้าจอและเพิ่มเสียงในสื่อต่างๆ เพื่อให้คนตาบอดเข้าถึงได้ โดยทีมจะเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ลูกค้าอยากนำเสนอและคิดหาวิธีเพื่อให้ผู้ใช้งานทุกรูปแบบสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้
สำหรับผู้พิการทางสายตาอย่างคุณวสันต์เองก็สามารถทำงานหลังบ้าน เขียน code เตรียม source ต่างๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ในการใช้งาน เป็นคนพูดคุยกับลูกค้าเพื่อวิเคราะห์และออกแบบการทำงาน เรียกได้ว่าทำงานในทีมซอฟต์แวร์ได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ยกเว้นเพียงแค่ด้านการออกแบบความสวยงามเท่านั้นที่ต้องดึงทีมดีไซเนอร์มาช่วยเพื่อความสมบูรณ์
ในปัจจุบันและอนาคตเทคโนโลยี คือ ส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ให้สามารถเข้าถึงความรู้มากมายและนำไปต่อยอดได้ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้พิการ โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตาคือสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้น้อยกว่าคนทั่วไป ดังนั้น Friendly Dev จึงเกิดขึ้นด้วยเป้าหมายที่อยากให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้
“เราอยากจะทำให้มันไปถึงจุดที่ ผู้ใช้ทุกกลุ่มสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยที่ยังมีความสวยงามสำหรับคนปกติที่เข้ามาใช้”
เส้นทางเทคโนโลยีของผู้พิการทางสายตา
“ผมตาบอดตั้งแต่กำเนิดครับเป็นต้อหินตั้งแต่กำเนิด แต่ว่าในช่วงแรกเป็นคนที่สายตาเลือนรางคือมองเห็นในระดับต่ำจนถึงอายุประมาณ 12 ก็บอดสนิทไป”
ในวัยเด็กคุณวสันต์มองเห็นอย่างเลือนรางต้องไปๆ มาๆ รักษาตัวระหว่างบ้านที่ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯ จนกระทั่งมีโรงเรียนคนตาบอดมาเปิดที่จังหวัดลำปาง เขาจึงเริ่มได้เข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในชั้นอนุบาลเป็นครั้งแรก
เมื่อโตขึ้นในวัยประถมปลายก็ได้เข้าร่วมโครงการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไป โดยจะมีครูและเจ้าหน้าที่คอยช่วยสนับสนุนในการเรียนตลอด ไม่ว่าจะเป็นสื่ออักษรเบรลล์ สื่อเสียงหรือการอ่านหนังสือรวมถึงการเรียนเพิ่มเติมช่วงเย็นและวันหยุด
เส้นทางสายเทคโนโลยีของคุณวสันต์เริ่มต้นขึ้นสมัยมัธยมปลาย เมื่อมีโอกาสเป็นนักเรียนตาบอดกลุ่มแรกๆ ที่ได้ร่วมโครงการสนับสนุนนักเรียนตาบอดเรียนสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ
“จริงๆ แล้วการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับคนตาบอดถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทยมาก ในตอนนั้นสาขาที่คิดว่าเราสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้คือสาขาคอมพิวเตอร์ เพราะว่ามันจะมีซอฟต์แวร์โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกขึ้น”
จากโอกาสในการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความชอบ และสุดท้ายคุณวสันต์ก็ได้ทุนเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น พอเรียนจบคุณวสันต์ก็ทำงานอยู่ในแวดวงเทคโนโลยี โดยทำงานในศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติภายใต้ สวทช. ตั้งแต่ปี 2557 เมื่อผ่านไปได้ระยะหนึ่งก็ตัดสินใจไปเรียนต่อด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (MBE) ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และออกมาทำธุรกิจ Friendly Dev ของตัวเองจนถึงปัจจุบัน
“ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้เนี่ยก็จะมีมูลนิธิและสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการห้องสมุดสำหรับผู้พิการทางสิ่งพิมพ์ ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เราเข้าถึงหนังสือเรียน หรือหนังสืออื่นๆ นอกตำราเรียนด้วยครับ ผมอยากที่จะต่อยอดให้กับน้องๆ คนตาบอดได้เรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ในสาขาด้านไอทีต่อไป”

โอกาส-อุปสรรค ที่ใหญ่ที่สุด
คุณวสันต์ได้พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่าผู้พิการทางสายตาก็สามารถทำงานในแวดวงเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ได้ และมีความสามารถที่เท่าเทียมกับคนทั่วไป แต่อุปสรรคที่สำคัญที่สำหรับการเป็นคนตาบอดในประเทศไทย คือ ‘โอกาส’ ในการเข้าถึงความรู้ ข้อมูล ที่จะนำมาเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง
อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดเลยจริงๆ คือ เรื่องของการเข้าถึงสื่อความรู้ หรือว่าแหล่งเรียนรู้ครับ เพราะว่าคนอาจจะมองว่าคนตาบอดมีตัวช่วยมากขึ้นแล้วในปัจจุบัน แต่มันก็ยังไม่ได้ครึ่งของเด็กๆ ทั่วไปที่เขาที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่น้อยกว่า อาจทำให้คนตาบอดถูกจำกัดอาชีพหรือความสามารถต่างๆ และสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนมักมองว่าผู้พิการมีอาชีพที่จำกัดเพียงไม่กี่อย่าง เป็นหมอนวด เป็นนักร้อง ขายลอตเตอรี่ เพียงแค่ไม่กี่อาชีพ
“หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าคนตาบอดมีศักยภาพในหลายๆ อย่างด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน คนตาบอดเราสามารถใช้ความรู้ความคิดได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป หลายคนก็ศึกษาเรื่องการลงทุน การทำไอที ทำ Youtube ทำ Podcast แต่สิ่งสำคัญคือโอกาสในการเข้าถึงความรู้เหล่านี้ แล้วก็อีกอย่างหนึ่งคือโอกาสในการได้รับความยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น”
เป้าหมายของคุณวสันต์ คือ การยกระดับความคิดของสังคมให้เห็นว่าคนตาบอดเองก็มีศักยภาพไม่ต่างจากคนทั่วไป และไม่ควรถูกจำกัดอาชีพเพราะทุกคนเองก็มีความชอบ มีความสามารถที่แตกต่าง บางคนอาจชอบไอที บางคนชอบการเงิน หรือการลงทุน หลายๆ คนก็เป็นนักกฎหมาย เพียงแต่โอกาสในการเข้าถึงข้อมูล หรือการทำงานเหล่านี้ยังไม่มากเพียงพอ จนเกิดเป็นภาพจำและทำให้คนมักตกใจเมื่อรู้ว่าคุณวสันต์ทำงานด้านซอฟต์แวร์
“การให้โอกาสกับคนที่อาจจะเรียกว่าด้อยโอกาสในสังคมครับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เขาพัฒนาตัวเองได้ วันหนึ่งที่เขาได้รับโอกาส เขาก็จะนำโอกาสเหล่านี้ไปส่งต่อให้คนที่ขาดโอกาสต่อๆ ไปในสังคม” คุณวสันต์กล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.brandbuffet.in.th/

“เราอยากจะทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคมเล็กๆ พัฒนาทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ที่คนตาบอดกับคนปกติทำงานร่วมกันได้”
ผู้พิการทางสายตาที่ทำงานในแวดวงซอฟต์แวร์คงเป็นภาพไม่คุ้นตาของใครหลายคน เพราะสังคมก็ยังเข้าใจว่าผู้พิการไม่สามารถทำงานด้านเทคโนโลยีได้ แต่คุณ ‘วสันต์ แปงปวนจู’ ผู้พิการทางสายตาผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัทซอฟต์แวร์ Friendly Dev ก็พิสูจน์แล้วว่านั่นเป็นเพียงภาพจำของสังคม และผู้พิการก็เป็นได้มากกว่าที่หลายคนคิด
Friendly Dev พัฒนาเพื่อ ‘ทุกคน’
“งานหลักๆ ที่เราทำตอนนี้ก็เป็นการพัฒนาพวกเว็บไซต์ที่รองรับการใช้งานจากผู้ใช้ทุกกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการครับ ให้ทุกคนสามารถมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้”
ทีม Friendly Dev เป็นทีมพัฒนาที่เพิ่งเกิดเริ่มต้นขึ้นเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา โดยเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อผู้พิการ ไม่ใช่เฉพาะคนตาบอด แต่ยังรวมไปถึงผู้พิการด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มตัวหนังสือในสื่อวิดีโอ และภาษามือสำหรับคนหูหนวก หรือฟังก์ชันการอ่านหน้าจอและเพิ่มเสียงในสื่อต่างๆ เพื่อให้คนตาบอดเข้าถึงได้ โดยทีมจะเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่ลูกค้าอยากนำเสนอและคิดหาวิธีเพื่อให้ผู้ใช้งานทุกรูปแบบสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้
สำหรับผู้พิการทางสายตาอย่างคุณวสันต์เองก็สามารถทำงานหลังบ้าน เขียน code เตรียม source ต่างๆ เช่น เซิร์ฟเวอร์ในการใช้งาน เป็นคนพูดคุยกับลูกค้าเพื่อวิเคราะห์และออกแบบการทำงาน เรียกได้ว่าทำงานในทีมซอฟต์แวร์ได้เหมือนกับคนปกติทั่วไป ยกเว้นเพียงแค่ด้านการออกแบบความสวยงามเท่านั้นที่ต้องดึงทีมดีไซเนอร์มาช่วยเพื่อความสมบูรณ์
ในปัจจุบันและอนาคตเทคโนโลยี คือ ส่วนสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการ ให้สามารถเข้าถึงความรู้มากมายและนำไปต่อยอดได้ เพราะสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้พิการ โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตาคือสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้น้อยกว่าคนทั่วไป ดังนั้น Friendly Dev จึงเกิดขึ้นด้วยเป้าหมายที่อยากให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้
“เราอยากจะทำให้มันไปถึงจุดที่ ผู้ใช้ทุกกลุ่มสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยที่ยังมีความสวยงามสำหรับคนปกติที่เข้ามาใช้”
เส้นทางเทคโนโลยีของผู้พิการทางสายตา
“ผมตาบอดตั้งแต่กำเนิดครับเป็นต้อหินตั้งแต่กำเนิด แต่ว่าในช่วงแรกเป็นคนที่สายตาเลือนรางคือมองเห็นในระดับต่ำจนถึงอายุประมาณ 12 ก็บอดสนิทไป”
ในวัยเด็กคุณวสันต์มองเห็นอย่างเลือนรางต้องไปๆ มาๆ รักษาตัวระหว่างบ้านที่ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯ จนกระทั่งมีโรงเรียนคนตาบอดมาเปิดที่จังหวัดลำปาง เขาจึงเริ่มได้เข้าเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในชั้นอนุบาลเป็นครั้งแรก
เมื่อโตขึ้นในวัยประถมปลายก็ได้เข้าร่วมโครงการเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไป โดยจะมีครูและเจ้าหน้าที่คอยช่วยสนับสนุนในการเรียนตลอด ไม่ว่าจะเป็นสื่ออักษรเบรลล์ สื่อเสียงหรือการอ่านหนังสือรวมถึงการเรียนเพิ่มเติมช่วงเย็นและวันหยุด
เส้นทางสายเทคโนโลยีของคุณวสันต์เริ่มต้นขึ้นสมัยมัธยมปลาย เมื่อมีโอกาสเป็นนักเรียนตาบอดกลุ่มแรกๆ ที่ได้ร่วมโครงการสนับสนุนนักเรียนตาบอดเรียนสายวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นโครงการของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ
“จริงๆ แล้วการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับคนตาบอดถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทยมาก ในตอนนั้นสาขาที่คิดว่าเราสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้คือสาขาคอมพิวเตอร์ เพราะว่ามันจะมีซอฟต์แวร์โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกขึ้น”
จากโอกาสในการเรียนวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ค่อยๆ แปรเปลี่ยนเป็นความชอบ และสุดท้ายคุณวสันต์ก็ได้ทุนเรียนคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น พอเรียนจบคุณวสันต์ก็ทำงานอยู่ในแวดวงเทคโนโลยี โดยทำงานในศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติภายใต้ สวทช. ตั้งแต่ปี 2557 เมื่อผ่านไปได้ระยะหนึ่งก็ตัดสินใจไปเรียนต่อด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ (MBE) ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และออกมาทำธุรกิจ Friendly Dev ของตัวเองจนถึงปัจจุบัน
“ส่วนหนึ่งที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้เนี่ยก็จะมีมูลนิธิและสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เป็นผู้ดำเนินโครงการห้องสมุดสำหรับผู้พิการทางสิ่งพิมพ์ ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เราเข้าถึงหนังสือเรียน หรือหนังสืออื่นๆ นอกตำราเรียนด้วยครับ ผมอยากที่จะต่อยอดให้กับน้องๆ คนตาบอดได้เรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ในสาขาด้านไอทีต่อไป”

โอกาส-อุปสรรค ที่ใหญ่ที่สุด
คุณวสันต์ได้พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่าผู้พิการทางสายตาก็สามารถทำงานในแวดวงเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ได้ และมีความสามารถที่เท่าเทียมกับคนทั่วไป แต่อุปสรรคที่สำคัญที่สำหรับการเป็นคนตาบอดในประเทศไทย คือ ‘โอกาส’ ในการเข้าถึงความรู้ ข้อมูล ที่จะนำมาเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง
อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดเลยจริงๆ คือ เรื่องของการเข้าถึงสื่อความรู้ หรือว่าแหล่งเรียนรู้ครับ เพราะว่าคนอาจจะมองว่าคนตาบอดมีตัวช่วยมากขึ้นแล้วในปัจจุบัน แต่มันก็ยังไม่ได้ครึ่งของเด็กๆ ทั่วไปที่เขาที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โอกาสในการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่น้อยกว่า อาจทำให้คนตาบอดถูกจำกัดอาชีพหรือความสามารถต่างๆ และสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนมักมองว่าผู้พิการมีอาชีพที่จำกัดเพียงไม่กี่อย่าง เป็นหมอนวด เป็นนักร้อง ขายลอตเตอรี่ เพียงแค่ไม่กี่อาชีพ
“หลายคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าคนตาบอดมีศักยภาพในหลายๆ อย่างด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน คนตาบอดเราสามารถใช้ความรู้ความคิดได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป หลายคนก็ศึกษาเรื่องการลงทุน การทำไอที ทำ Youtube ทำ Podcast แต่สิ่งสำคัญคือโอกาสในการเข้าถึงความรู้เหล่านี้ แล้วก็อีกอย่างหนึ่งคือโอกาสในการได้รับความยอมรับจากคนในสังคมมากขึ้น”
เป้าหมายของคุณวสันต์ คือ การยกระดับความคิดของสังคมให้เห็นว่าคนตาบอดเองก็มีศักยภาพไม่ต่างจากคนทั่วไป และไม่ควรถูกจำกัดอาชีพเพราะทุกคนเองก็มีความชอบ มีความสามารถที่แตกต่าง บางคนอาจชอบไอที บางคนชอบการเงิน หรือการลงทุน หลายๆ คนก็เป็นนักกฎหมาย เพียงแต่โอกาสในการเข้าถึงข้อมูล หรือการทำงานเหล่านี้ยังไม่มากเพียงพอ จนเกิดเป็นภาพจำและทำให้คนมักตกใจเมื่อรู้ว่าคุณวสันต์ทำงานด้านซอฟต์แวร์
“การให้โอกาสกับคนที่อาจจะเรียกว่าด้อยโอกาสในสังคมครับ ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เขาพัฒนาตัวเองได้ วันหนึ่งที่เขาได้รับโอกาส เขาก็จะนำโอกาสเหล่านี้ไปส่งต่อให้คนที่ขาดโอกาสต่อๆ ไปในสังคม” คุณวสันต์กล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.brandbuffet.in.th/
ข่าวแนะนำ
เกณฑ์การให้บริการผลิตสื่ออักษรเบรลล์
Sep 01, 2024
PDPA กฎหมายใหม่ที่ควรรู้
May 31, 2022
เกณฑ์การให้บริการผลิตสื่ออักษรเบรลล์
Sep 01, 2024
PDPA กฎหมายใหม่ที่ควรรู้
May 31, 2022