รู้ไหม? กว่าจะมาเป็นสุนัขนำทางได้ยากเย็นเพียงได?

Benyalai Admin
14 Nov 2019รู้ไหม? กว่าจะมาเป็นสุนัขนำทางได้ยากเย็นเพียงได?
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านครับ หากจะพูดถึงสุนัขคงไม่มีใครไม่รู้จัก เพื่อนสี่ขาที่อยู่กับสังคมมนุษย์มาอย่างช้านาน
ประเทศไทยเองเราก็มีสุนัขสายพันไทย อย่างบางแก้ว ไทยหลังอาน และเจ้าสองสายพันนี้ก็ขึ้นชื่อเรื่องความซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ฉลาดแสนรู้ ทะว่าในประเทศไทยก็ไม่ได้พัฒนาสายพันธุ์สุนัขเหล่านี้
การจะได้สุนัขพันไทยคุณภาพจึงขึ้นอยู่กับบรรพบุรุษของพวกมันที่ถ่ายทอดมาให้ และการฝึกฝนของเจ้าของ
สุนัขพันธุ์ไทย มักถูกเลี้ยงไว้ เฝ้าบ้านเฝ้าสวน หรือบางทีก็ถูกเลี้ยงไว้ช่วยล่าสัตว์อีกด้วย อย่างไทยหลังอานจะมีอีกชื่อ ว่า หมาพาน
ทีนี้พอเป็นสุนัขนำทาง แน่นอนว่าสุนัขไทยคงไม่เหมาะ เพราะความอดทนคงมีไม่มากพอ
เราลองมาดูกันว่าสุนัขแบบไหนที่เหมาะ ฝึกเป็นสุนัขนำทางได้บ้าง และมีกระบวนการอย่างไรกว่าจะได้สุนัขนำทางหนึ่งตัว
เพราะต้องทำหน้าที่สำคัญ และการได้รับสิทธิพิเศษให้เข้าถึงยังทุกสถานที่ สุนัขเหล่านี้จำเป็นต้องผ่านการเลี้ยงดู ฝึกฝน และทดสอบอย่างหนัก และเจ้าของสุนัขก็จำเป็นต้องดูแลสุนัขเป็นอย่างดี
เรื่องอาหารการกิน การตรวจสุขภาพ และการรักษาความสะอาด
สายพันสุนัขธุ์ที่เหมาะจะฝึกเป็นสุนัขนำทางจะต้องมีคุณสมบัติคือ ฉลาด แข็งแรง เชื่อฟังคำสั่ง มีสมาธิ
ชอบเรียนรู้ เรียนรู้ได้เร็ว มีความสุขในการทำงานและเป็นมิตร
ดังนั้นแม้ช่วงแรกจะมีการใช้พันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ด (German shepherd)
แต่ต่อมาพันธุ์ที่ได้รับความนิยมเป็นลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Labrador retriever)
และโกลเดน รีทรีฟเวอร์ (Golden retriever)
โดยองค์กรจะคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์เป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ลูกสุนัขที่มีคุณภาพและมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ
แต่ถึงขั้นนั้นลูกสุนัขที่เกิดมาครอกเดียวกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำมาฝึกเป็นสุนัขนำทางได้ทั้งหมด บางครอกเกิดมาห้าตัวใช้ได้ตัวเดียว หรือบางครอกเกิดมาเจ็ดตัวใช้ได้สามตัวแต่สถานการณ์เช่นนี้ก็ไม่ได้เกิดเสมอไปตัวเลขอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถนำลูกสุนัขทั้งครอกมาฝึทั้งหมดได้
นอกจากนี้ สุนัขที่จะนำมาฝึกจะต้องมีประวัติไม่เคยกัดคนมาก่อนใน 3 รุ่นบรรพบุรุษ และจะต้องถูกนำไป ผ่าตัดทำหมันตั้งแต่อายุ 6 เดือน
ในการฝึกสุนัขนำทางจะแบ่งช่วงเวลาการฝึกออกเป็นสองช่วง
ช่วงแรก ฝึกทักษะพื้นฐาน เช่น การไม่ขับถ่ายในอาคาร การหัดเข้าสายจูง การฝึกคำสั่งทั่วไป เช่น ชิด นั่ง หมอบ คอย และฝึกการเข้าไปในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก หรือการเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบในเมือง
ซึ่งการดูแลลูกสุนัขในช่วงนี้แต่ละประเทศจะมีการจัดการที่ต่างกัน เช่น ที่สหรัฐจะมีอาสาสมัครซึ่งผ่านการอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงและฝึกสอนลูกสุนัข (Puppy raiser)
มารับลูกสุนัขไปดูแลตั้งแต่อายุ 8 สัปดาห์ และพากลับมาฝึกที่ศูนย์เป็นระยะๆ จนถึงวัยที่พร้อมจะเข้ารับการฝึกหลักสูตรเฉพาะจึงส่งคืนกลับให้ศูนย์ ขณะที่ญี่ปุ่นจะเลี้ยงและฝึกคำสั่งพื้นฐานที่ฟาร์มจนถึงอายุ
1 ปี
ช่วงที่สอง จะเป็นหลักสูตรสำหรับสุนัขนำทางโดยเฉพาะ ซึ่งระยะเวลาในการฝึกและอายุของสุนัขที่เริ่มทำการฝึกของแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน เช่น ออสเตรเลียเริ่มฝึกที่อายุ
16-18 เดือน สหรัฐอเมริกาเริ่มที่ 13-15 เดือน ญี่ปุ่น 12 เดือน หลักสูตรเฉพาะจะเน้นที่ทักษะเกี่ยวกับการเป็นสุนัขนำทาง เช่น การฟังคำสั่งซ้าย-ขวา การฝึกเดินนำทางเป็นเส้นตรง
(ไม่หยุด หรือแวะสนใจสิ่งเร้ารอบตัว) การเดินนำในตำแหน่งที่ถูกต้อง (โดยจะอยู่ทางซ้ายของผู้จูง และเยื้องไปทางด้านหน้า) หยุดยืนที่ขอบถนนเสมอ หยุดเมื่อถึงขั้นบนสุด
หรือล่างสุดของบันได การพาไปยังปุ่มกดลิฟท์ การรออย่างสงบเมื่อเจ้าของนั่ง (เช่น กรณีที่ต้องรอในร้านอาหาร ที่ทำงาน หรือพื้นที่สาธารณะ) การพาเดินหลบสิ่งกีดขวาง
การเดินในพื้นที่แคบ และการระมัดระวังการชนสิ่งกีดขวางที่อยู่เหนือศีรษะ นอกจากนี้ยังต้องสามารถปฏิเสธคำสั่งที่อาจนำไปสู่อันตรายได้ (เช่น ถ้าเดินไปทางนี้แล้วจะตกหลุม)
โดยตลอดการฝึกจะไม่มีการให้ขนมเป็นรางวัล แต่จะใช้คำพูดและการลูบตัวเพื่อชมเชยเท่านั้น
สุนัขที่ผ่านการฝึก จะต้องมีทักษะ การจดจำชื่อเจ้าของได้ เข้าใจทั้งคำสั่งเสียงและคำสั่งภาษามือ และอยู่ภายใต้คำสั่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไม่ตกใจหรือหวั่นกลัวบนท้องถนนหรือในสถานการณ์ต่างๆ และนิ่ง สงบ แม้ใครจะเข้ามาหยอกหรือเล่นด้วย
ไม่ข่มขู่ผู้คน ไม่ถูกหันเหความสนใจจากสิ่งเร้ารอบกาย ยืนหรือนั่งนิ่งๆ ได้เป็นเวลานาน
แยกเสียงเตือนภัยออกจากเสียงรบกวนทั่วๆ ไปได้
อยู่ในรถหรือขนส่งสาธารณะได้อย่างสงบ ฟังคำสั่งเจ้าของอย่างเคร่งครัด ไม่นำเจ้าของ รู้ว่าต้องหยุดตอนไหน
สามารถอยู่ในที่สาธารณะได้โดยไม่มีสายจูง
อดทนต่อกลิ่นอาหาร นั่งหรือนอนเงียบๆ ใต้โต๊ะอาหาร ไม่ร้องขออาหาร
หลังผ่านหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว จึงเป็นการทดลองใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสุนัขนำทางกับผู้พิการทางสายตา ซึ่งจะต้องมาเข้ารับการฝึกร่วมกันที่ศูนย์เป็นเวลา 2-4 สัปดาห์
ทั้งคู่ถือเป็นทีมที่ต้องทำงานร่วมกันและปรับตัวเข้าหากัน สุนัขจะสื่อสารการนำทางผ่านทางบังเหียน และหากสุนัขทำผิดหรือเสียสมาธิ ก็สามารถเตือนได้ด้วยการกระตุกสายจูง
ส่วนการจับคู่กันนั้น ทางศูนย์จะคัดเลือกให้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความเข้ากันได้ ขนาดตัวของสุนัข นิสัยของสุนัขแต่ละตัว (เช่น ถ้าไม่ชอบน้ำก็ไม่ควรไปอยู่ในพื้นที่ฝนตกบ่อย
หรือบางตัวก็ไม่ชอบอยู่ในเมือง)
โดยเฉลี่ยสุนัขจะเรียนจบหลักสูตรการนำทางที่อายุประมาณ 2 ปี และเกษียณตอนอายุ 10 ปี เมื่อเกษียณแล้วจะมีอาสาสมัครรับตัวกลับไปดูแลต่อ หรือเจ้าของสุนัขจะร้องขอดูแลสุนัขต่อไปก็ได้ในกรณีที่สามารถดูแลทั้งสุนัขนำทางตัวใหม่และตัวเดิมได้
ส่วนสุนัขที่สอบไม่ผ่านจะถูกส่งไปทำงานช่วยเหลือประเภทอื่น
ไม่ว่าจะเป็น การใช้เป็นสุนัข ร่วมในการให้ความรู้กับเด็กที่สูญเสียการมองเห็น เพื่อให้สามารถดูแลสุนัขนำทางได้อย่างถูกต้อง เพื่อเตรียมตัวเด็กให้พร้อมที่จะเป็นเจ้าของสุนัขนำทางในอนาคต
หรือใช้เป็นสุนัขบำบัด และหากไม่สามารถเป็นสุนัขทำงานได้ ก็จะหาผู้เลี้ยงที่เหมาะสมต่อไป
อย่างไรก็ตาม กว่าจะฝึกสุนัขนำทางที่มีมาตรฐานออกมา หน่วยงานที่ฝึกสุนัขต้องใช้งบประมาณราว 1.6 ล้านบาทในการเลี้ยงดูและฝึก
หน่วยงานฝึกสุนัขนำทางต้องสัมภาษณ์ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ และทักษะของเจ้าของ ก่อนจะจัดหาสุนัขให้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นองค์กรเพื่อสังคมที่ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ
สุนัขนำทางมีอายุขัยการทำงานเพียง 10 ปีเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นร่างกายจะไม่เหมาะสมในการทำงานอีกต่อไป
สุนัขที่ผ่านการทดสอบจะได้ใบรับรองเป็นประกาศนียบัตรจากหน่วยงาน Dog Certification of America หรือจาก National Service Animal Registry (NSAR) ประเทศสหรัฐอเมริกา
รวมไปถึงอีกหลายหน่วยงานที่มีอำนาจในการทดสอบและออกใบรับรองให้แก่สุนัขช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่ในหลายๆ ประเทศการจะเป็นสุนัขช่วยเหลือได้จะต้องมีใบรับรองเพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ว่าสุนัขเหล่านี้สามารถเข้าไปในเขตสาธารณะหรือสถานที่ซึ่งไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้
วัตถุประสงค์ในการใช้สุนัขนำทาง คือ เพื่อให้ผู้พิการทางสายตามีอิสระ และเสรีภาพ ในการเดินทางได้ด้วยตนเอง
ในอดีตประเทศไทยเคยมีคนตาบอดนำสุนัขนำทางเข้ามาใช้ โดยนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา
ก็เป็นที่สนใจของสื่อไทยอยู่ช่วงหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครนำเข้ามาใช้อีก
และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีคนตาบอดชาวไทยนำสุนัขนำทางเข้ามาใช้งานเช่นกันโดยเธอพยายามเรียกร้องให้มีการอนุญาตให้คนตาบอดสามารถนำสุนัขนำทางเข้าไปยังสถาณที่ต่างๆได้
ติดตามเรื่องราวของน้องทรายกับสุนัขนำทางของเธอได้ที่
เพราะประเทศไทย ในทางปฏิบัติก็ยังมีปัญหาอยู่มากทั้งโครงสร้างพื้นถาน การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุนัขนำทาง
ถึงแม้ว่า ตามกฎหมาย พ.ร.บ. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 20 (8) จะระบุไว้ชัดเจนว่าคนพิการมีสิทธิที่จะนำ “สัตว์นำทาง เครื่องมือ หรืออุปกรณ์นำทาง
หรือเครื่องช่วยความพิการใดๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใดๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง”
เราคงต้องมาติดตามกันต่อไปว่า ต่อจากนี้ การเรียกร้องที่จะให้ใช้สุนัขนำทางในประเทศไทยนั้น จะมีการตอบสนองอย่างไร และการพยายามจัดตั้งสถาบัญฝึกสุนัข จะประสบผลสำเร็จหรือไม่
ค่าใช้จ่ายในการฝึกสุนัขจะอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรได